#!/usr/bin/env python # coding: utf-8 # # การเติบโตของเงิน (ดอกเบี้ยทบต้น) # # ถ้าเราเอาเงิน 100 บาท ไปฝากธนาคารได้ดอกเบี้ย 2% ต่อปี และเราไม่ถอนเงินออกมา เงินจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ # # เมื่อสิ้นปีที่ 1 เงินจะเป็น $100 + 2 = 100 (1 + 0.02)$ บาท # # เมื่อสิ้นปีที่ 2 เงินจะเป็นเงินสิ้นปีที่ 1 คูณกับ $(1+0.02)$ = $102(1+0.02) = 100(1+0.02)(1+0.02) = 104.04$ บาท # # เมื่อสิ้นปีที่ 3 เงินจะเป็นเงินสิ้นปีที่ 2 คูณกับ $(1+0.02)$ = $104.04(1+0.02) = 106.12$ โดยทั่วไปเงินปีที่ k จะเท่ากับเงินปีที่ k-1 คูณกับ (1+0.02) # # ถ้าดอกเบี้ย = r เปอร์เซ็นต์ต่อปี เงินสิ้นปีที่ k จะเท่ากับเงินสิ้นปีที่ k-1 คูณกับ $(1+\frac{r}{100})$ โดยที่เงินเริ่มต้นคือเงินปีที่ 0 # # การคูณซ้ำๆกันด้วย $(1+\frac{r}{100})$ ก็คือการยกกำลังนั่นเอง เราจึงสามารถเขียนเงินสิ้นปีที่ k = $เงินต้น (1+\frac{r}{100})^k$ # # เราอาจเขียนเป็นฟังก์ชั่นได้แบบนี้: # In[1]: def เงินสิ้นปีที่(k,เงินต้น, ดอกเบี้ยเปอร์เซ็นต์): "คำนวณเงินสิ้นปีที่ k ถ้ารู้เงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเปอร์เซ็นต์" return เงินต้น * (1 + ดอกเบี้ยเปอร์เซ็นต์/100)**k # In[2]: เงินสิ้นปีที่(1, 100, 2) #เงินสิ้นปีที่ 1 เงินต้น = 100 ดอกเบี้ย 2% ต่อปี # In[3]: # เงินต้น 100 บาท ดอกเบี้ย 2% ต่อปี print("สิ้นปีที่\tเงิน(บาท)") for year in range(0,11): print(f"{year}\t{เงินสิ้นปีที่(year,100,2)}") # In[4]: # พิมพ์ทศนิยมสองตำแหน่งให้อ่านง่ายๆ ใส่ :.2f ใน f-string ตอนพิมพ์ # เงินต้น 100 บาท ดอกเบี้ย 2% ต่อปี print("สิ้นปีที่\tเงิน(บาท)") for year in range(0,11): print(f"{year}\t{เงินสิ้นปีที่(year,100,2):.2f}") # In[5]: #ลองเปรียบเทียบดอกเบี้ย 2%, 5%, 10%, 15%, 20% 30% เงินต้น 100 บาท ดอกเบี้ย = (2,5,10,15,20,30) print("สิ้นปีที่", end="") for i in ดอกเบี้ย: print(f"\t{i}%", end="") print() for year in range(0,11): print(f"{year}", end="") for i in ดอกเบี้ย: print(f"\t{เงินสิ้นปีที่(year,100,i):.2f}", end="") print() # In[6]: #่ ยิ่งเวลานานๆยิ่งเห็นผลต่างของเงินที่ดอกเบี้ยต่างๆกัน # เราจะดูว่าเงิน 1 บาททิ้งไว้ 30 ปีด้วยดอกเบี้ยต่างๆจะเติบโตเป็นกี่บาท ดอกเบี้ย = (2,5,10,15,20,30) print("สิ้นปีที่", end="") for i in ดอกเบี้ย: print(f"\t{i}%", end="") print() for year in range(0, 31): print(f"{year}", end="") for i in ดอกเบี้ย: print(f"\t{เงินสิ้นปีที่(year,1,i):.2f}", end="") print() # โดยทั่วไปเราควรพยายามเอาเงินไปอยู่ในที่ที่เติบโตไม่ต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ เพื่อที่ว่าเงินในอนาคตของเรายังสามารถซื้อของต่างๆได้ไม่ลดลง วิธีประมาณเงินเฟ้อแบบหนึ่งคือดูว่าราคาสิ่งของต่างไปกี่เท่าในเวลากี่ปี เช่นถ้าก๋วยเตี๋ยวราคาเพิ่มจาก 10 บาทเป็น 40 บาทในเวลา 40 ปี แสดงว่าค่าของเงินลดลง 4 เท่าในเวลา 40 ปี เราก็แก้สมการ # # $(1 + อัตราเงินเฟ้อ)^{40} = \frac{40 บาท}{10 บาท}$ # # หรือ $(1 + อัตราเงินเฟ้อ)^{40} = 4$ # # $(1 + อัตราเงินเฟ้อ) = 4^{(\frac{1}{40})} = 1.0352649238413776$ # # ดังนั้น $อัตราเงินเฟ้อ = 0.0352649238413776$ หรือประมาณ $3.5$% # # แปลว่าถ้าเราเอาเงินไปวางไว้ในที่ที่มันเติบโตน้อยกว่า 3.5% เงินของเราจะมีค่าลดลงในอนาคตคือซื้อของได้ลดลง # # ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องอย่างนี้อ่านได้ที่: # # [Compound Interest](https://en.wikipedia.org/wiki/Compound_interest#Calculation) # # [ดอกเบี้ยทบต้น](https://greedisgoods.com/ดอกเบี้ยทบต้น-คือ/) # # [อุปสรรคของคนรอพลังจาก “ดอกเบี้ยทบต้น”](https://www.finnomena.com/a-academy/barrier-for-compound-interest/) # In[ ]: